วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การดูแลรักษาต้นยางพารา

1.การปลูกพืชคลุมดิน
พื้นที่ระหว่างแถวยางที่ไม่ปลูกพืชแซมยางควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วซีรูเลี่ยม
ข้อสังเกตุ : การปลูกพืชคลุมดินควรปลูกพร้อมกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยาง และอย่าปล่อยให้เถาว์พืชคลุมพันต้นยาง
2. การคลุมโคน
ปลายฤดูฝนควรคลุมบริเวณโคนต้นยาง เพื่อรักษาความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้งโดยใช้ฟางข้าว หรือเศษซากพืชเหลือใช้จาการเกษตรคลุมบริเวณโคนต้นยาง
เป็นวงกลมห่างจากโคนต้นยาง 5-10 เซนติเมตร ให้มีรัศมีคลุมพื้นที่โคนต้นยางประมาณ 1 เมตร คลุมหนาประมาณ 10 เซนติเมตร ในกรณีสามารถหาวัสดุดังกล่าวได้ง่าย
มีปริมาณมากและแรงงานพอควรคลุมให้ตลอดทั้งแถวยาง จากโคนต้นยางแผ่คลุมพื้นที่ออกไปข้างละ 1 เมตร วิดีนี้จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้ดีขึ้นในช่วงฤดูแล้ง
และยังช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในแถวยางอีกด้วย


3. การใส่ปุ๋ย
     3.1
ยางก่อนเปิดกรีด
            ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตราและเวลาใส่ปุ๋ยตามอายุของต้นยาง (ตารางที่ 1)
            ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านรอบต้นหรือโรยเป็นแถบ 2 ข้างต้น ยางบริเวณทรงพุ่มของใบยางแล้วคราดกลบ กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
            พื้นที่ลาดเท ควรใส่ปุ๋ยโดยวิธีการขุดหลุม 2 จุด ตามแนวทรงพุ่มของใบยาง แล้วกลบเพื่อลดการชะล้าง
            ส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่ควรใส่ปุ๋ยในฤดูแล้งหรือมีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน
3.2 ยางหลังเปิดกรีด
            ใส่ปุ๋ยเคมีโดยผสมปุ๋ยเคมีสูตร 30-5-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
            ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านหรือโรยเป็นแถบบริเวณระหว่างแถวยางแล้วกลบ
            ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2-3 กิดลกรัมต่อต้นต่อปีร่วมกับปุ๋ยเคมี ขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 15 วัน
3.3 การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
            เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ย หรือเป็นทางเลือกในการใส่ปุ๋ยเคมี หากเกษตรกรไม่สามารถหาสูตรปุ๋ยที่แนะนำในท้องตลาด เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยที่มีสูตร
              ใกล้เคียงหรือผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
            แม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ในการผสมปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ปริมาณแม่ปุ๋ย
              ที่ใช้ในการผสมปุ๋ยสูตรต่างๆ จำนวน 100 กิโลกรัมแสดงดังตารางที่ 2
            การผสมปุ๋ยแต่ละครั้งควรใช้ให้หมด หากใช้ไม่หมดควรใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น สามารถเก็บไว้ได้ 1-2 สัปดาห์
4.การตัดแต่งกิ่ง
    การตัดแต่งกิ่งบริเวณลำต้นในช่วงยางอ่อน เป็นการเตรียมพื้นที่บริเวณลำต้นให้มีพื้นที่กรีดยางมาก ให้สามารถกรีดยางได้ไม่น้อยกว่า 20 ปี มีข้อควรแนะนำดังนี้
     ตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน
     ตัดกิ่งแขนงให้ชิดลำต้นในระดับต่ำกว่า 2 เมตร
     การตัดกิ่งแขนงครั้งแรกในต้นฤดูฝน ให้ใช้วิธีทยอยตัดกิ่งแขนงออก เพื่อป้องกันต้นยางสูงชะลูด
     ไม่โน้มต้นยางลงมาตัดแต่ง เพราะจะทำให้เปลือกแตก น้ำยางไหล หรือ หักได้
     ใช้ปูนขาว หรือปูนแดง หรือสี ทาบริเวณแผลที่ตัด
5.การสร้างทรงพุ่ม
    ในกรณีต้นยางไม่แตกกิ่ง ให้ทำการสร้างทรงพุ่มี้
     สร้างทรงพุ่มที่ระดับความสูง 2.00 -2.50 เมตร
     ถ้าต้นยางสูงไม่มากนัก ใช้ใช้วิธีคลุมยอกหรือวิธีสวมยอด แต่ถ้าต้นยางสูงมากและส่วนสีน้ำตาลสูงเกิน 2.50 เมตร ให้ใช้วิธีควั่นที่ระดับประมาณ 2.20 เมตร
     ห้ามใช้วิธีตัดยอด แต่ถ้าจะใช้ต้องเลี้ยงพุ่มให้มีแขนงยอด โดยวิธีตัดทอนแขนงข้าง 3-5 กิ่ง ให้เจริญเติบโตต่ำกว่าแขนงยอดเพื่อป้องกันทรงพุ่มหนัก และกิ่งแตก
       เป็นกระจุก
     ถ้ามีกิ่งแขนงแตกที่ระดับ 2-2.5 เมตร แล้วไม่จำเป็นต้องสร้างทรงพุ่มกับต้นยางต้นนั้นอีก
6.การทำแนวป้องกันไฟ
     ก่อนเข้าฤดูแล้วแนะนำให้ปราบวัชพืชบริเวณแถวยางและระกว่างแถวยาง
     กำจัดวัชพืชรอบแนวสวนเป็นแนวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร และเก็บเศษวัชพืชออกให้หมอ
     กรณีต้นยางที่ถูกไฟไหม้เล็กน้อย แนะนำให้ใช้ปูนขาวทาลำต้นทันที่เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด ดร และแมลงที่อาจเข้าทำลายได้
     ถ้าต้นยางในสวนได้รับความเสียหายจากไฟไหม้เกินร้อยละ 40 ของต้นยางทั้งหมด จนไม่อาจรักษาหน้ายางได้ ควรปลุกใหม่ทั้งแปลง
7.การป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด
     ต้นยางที่ปลูกในเขตแห้งแล้วมักปรากฏรอยไหม้จากแสงแดดซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อส่วนนั้นรับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกันจนเซลล์เนื้อเยื่อเสียหาย ไม่สามารถ
        เจริญเติบโตต่อไปได้
     ก่อนเข้าช่วงแล้งควรใช้ปูนขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 2 ส่วนหมักแช่ทิ้งค้างคืน ทาตั้งแต่บริเวณโคนต้น ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลสูงขึ้นมาจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว
        เพื่อป้องกันความรุนแรงของแสงแดด
8.การไถพรวนกำจัดวัชพืช
    การไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยาง ไถได้ในช่วงยางอายุ 2-3 ปี โดยไถลึก 15 เซนติเมตร และห่างจากแถวยางประมาณ 1-1.5 เมตร ควรไถก่อนวัชพืชออกดอก
การไถพรวนอาจไถ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับชนิดและปริมาณวัชพืช
9.อาการเปลือกแห้ง
เป็นกับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุด ๆ อยู่ตามรอยกรีดยาง
     เป็นอาการผิดปกติทางกายวิภาคภายในท่อน้ำยาง เมื่อต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง ต้องหยุดกรีดยางประมาณ 6-12 เดือน ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งชั่วคราว
       จะสามารถกรีดเอาน้ำยางได้อีกหลังจากยุดกรีด

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 มีนาคม 2557 เวลา 19:06

    รายละเอียดชัดเจนดีพอสมควรสามารถนำไปปรับใช้กับสวนของเราได้

    ตอบลบ