วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีทำแผ่นยาง ขั้นตอนการผลิตยางแผ่น แผ่นยางพารา แผ่นยางลมควัน

การผลิตน้ำยางข้น

การผลิตน้ำยางข้นได้จากการนำน้ำยางสดที่รักษาสภาพด้วย สารละลายแอมโมเนีย หรือสารละลายโซเดียมซัลไฟท์  แล้วนำมาปั่นแยกด้วยเครื่องปั่นความเร็วสูง เพื่อแยกน้ำและสารอื่นๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำออกไปบางส่วน  จะได้น้ำยางแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. น้ำยางข้น 60% (Concentrated latex) รักษาสภาพด้วย 0.7% สารละลายแอมโมเนียชนิดเข้มข้นหรือ0.2% สารละลายแอมโมเนียชนิดเจือจาง ร่วมกับสารช่วยรักษาสภาพน้ำยาง
2. หางน้ำยาง (Skim latex)  นำมาไล่ NH3 แล้วเติม H 2SO4  แล้วผ่านกระบวนการรีดเครพหรือตัดย่อย เพื่อผลิตเป็นสกิมเครพ หรือ สกิมบล็อค

การผลิตยางแผ่น

การผลิตยางแผ่นทำได้โดยการนำน้ำยางสดมากรองแยกสิ่งสกปรกแล้วทำให้จับตัวด้วยกรดฟอร์มิคหรืออะซิติค  จากนั้นนำมาทำนวดและรีดด้วยจักรรีดยางจนยางมีแผ่นหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร  แล้วนำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจะได้ยางแผ่นดิบ (Unsmoked sheet,USS)   ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปต่อได้ 2 ทางคือ
1.ทำยางแผ่นผึ่งแห้ง โดยการอบด้วยลมร้อน อุณหภูมิ 45-65 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน บรรจุหีบห่อ รอการจำหน่าย
2.ทำยางแผ่นรมควัน โดยการเข้าโรงรมควัน  อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส  ใช้เวลาประมาณ 4-10 วัน  แล้วจัดชั้นด้วยสายตา  บรรจุหีบห่อรอการจำหน่าย

การผลิตยางแท่ง

ไทยเริ่มผลิตยางแท่งเมื่อปี 2511 เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทางวิทยาศาสตร์และจำแนกชั้นตามข้อกำหนดทำให้สินค้ามีมาตรฐานมากขึ้น
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางแท่งใช้ได้ทั้งน้ำยางสดที่ต้องทำให้จับตัวเป็นก้อนก่อน  และยางแห้งที่จับตัวแล้ว  เช่น ยางแผ่นดิบ  เศษยางก้นถ้วย โดยมีขั้นตอนการผลิตแตกต่างกัน คือ
- การใช้น้ำยางสด ทำได้โดยการนำน้ำยางสดมาเทรวมในถังรวมยางแล้วทำให้ยางจับตัวแล้วตัดเป็นก้อน จึงผ่านเข้าเครื่องเครพ จากนั้นย่อยยางเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วจึงอบยางให้แห้งและอัดเป็นแท่งขนาด 33.3 กิโลกรัม
- การใช้ยางแห้งที่จับตัวแล้ว  สำหรับยางแผ่นดิบสามารถนำมาตัดแล้วอบแล้วอัดเป็นแท่งได้เลย ส่วนเศษยางต้องมารวมในถังรวมยางแล้วตัด ทำความสะอด แล้วบรรจุใส่ถังรวมอีกครั้งก่อนผ่านเข้าเครื่องเครพ ย่อยยางเป็นชิ้นเล็กๆ จึงอบให้แห้งแล้วอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 33.3 กิโลกรัม
 
การแยกและคัดชั้นยาง (STR คือ Standard Thai Rubber RSS คือ การจัดชั้นยางต่าง ๆ ของยางแผ่นรมควัน)
การแยกยาง จะอาศัยความเหมาะสมโดยอาศัยทักษะและข้อสังเกตุบางประการคือ
1. ความสะอาด แผ่นยางสะอาด ไม่มีขยะขอบริ้วขี้ยางหรือฟองอากาศที่เห็นเด่นชัด
2. ความหนาบางของแผ่นยาง หนาบางสม่ำเสมอตลอดแผ่น
3. ความชื้นในแผ่นยาง ควรมีความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
4. ความยืดหดเพราะการใช้น้ำหรือน้ำกรดไม่ถูกส่วน
5. สีและความสม่ำเสมอของสี
6. ลักษณะขนาดของแผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่คอดกิ่ว เล็ก โต ยาวหรือสั้นเกินไป
การคัดชั้นยาง การคัดชั้นยางแผ่นรมควันนั้น ผู้ทำการคัดจะต้องมีทักษะอย่างสูง เพราะจะต้องใช้สายตาช่วยในการคาดคะเนชั้นของยางซึ่งจะต้องได้มาตรฐาน เพราะคุณภาพของยางแผ่นรมควันนั้นจะต้องเปรียบเทียบกับยางแท่งในการกำหนดคุณภาพชั้นนั้น กำหนดให้แผ่นยางรมควันเป็น 5 ชั้น นอกจากนั้นถือเป็นยางชั้นต่ำ คือ
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ยางแผ่นรมควันชั้น 2
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ยางแผ่นรมควันชั้น 4
ยางแผ่นรมควันชั้น 5

มาตรฐานของยางแผ่นรมควันของประเทศไทย กำหนดเอายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นหลักเกณฑ์การตัดสิน ซึ่งแผ่นยางรมควันชั้นนี้จะมีคุณภาพเท่ากับยางแท่ง TTR 20 คุณภาพยางแผ่นรมควันที่ดีกว่าก็พิจารณาให้เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 1 หรือ 2 แต่ถ้าคุณภาพเลวกว่าก็พิจารณาให้เป็นยางแผ่นรมควันขั้น 4 , 5 เพื่อเป็นยางชั้นต่ำ สิ่งที่ช่วยในการกำหนดว่ายางนั้นๆควรอยู่ในชั้นไหนคือ
1. ฟองอากาศและสิ่งสกปรก ซึ่งภาษาของการคัดชั้นยางเรียกว่าจุดและแต้ม
2. สีและความสม่ำเสมอของสี ไม่มีราสีแดง
3. ไม่มีสิ่งปลอมปน
4. การใช้น้ำและน้ำกรดถูกส่วน
ข้อพิจารณาในการแยกชั้นยางแผ่นรมควันของบริษัทผู้ส่งออกตามมาตรฐานของสมาคมผู้ค้ายาง
ระหว่างประเทศ มีดังนี้
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นยางที่แห้งรมควันสุกสม่ำเสมอ เหนียวแน่นดี ยืดหยุ่นดี ไม่มีจุดและแต้ม สิ่งเจือปนอื่นๆ เป็นตำหนิมากจนเป็นที่น่ารังเกียจ คือรวมแล้วไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของแผ่น (คุณภาพเหมือน TTR 20)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น