ยางพารา วิธีปลูกยางพารา วิธีกรีดยางพาราอย่างถูกต้อง

ปัจจุบันนี้ ชาวไร่ชาวชวนนิยมหันมาปลูกยางพาราเป็นอย่างมาก เพราะราคาดีดูแลรักษาง่าย และกรีดยางได้ตลอตปีโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานที่หันมาเอาดีในการปลูกยางพาราแทนการปลูกอ้อย ยางพาราเป็นพื้ชที่เหมาะต่อการปลูกในดินภาคอีสานเป็นอย่างมาก น้ำยางมีคุณภาพโดยเฉพาะจังหวัดนครพนม ท่านไหนอยากจะหันมาปลูกยางก็ควรจะศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการปลูกอย่างไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะทำให้ได้รู้วิธีการปลูก ปัญหาต่างๆของการปลูกยางพารา
การปลูกยางเริ่มจากภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไปจรดมาเลเซีย  มาทางภาคตะวันออกแถบจันทบุรี   หลังจากนั้นก็พัฒนามาทางภาคกลางแถบฉะเชิงเทรา  ตะวันตกก็มีแถบกาญจนบุรี  สระบุรีแถบมวกเหล็ก   ขึ้นสู่ภาคเหนือมีพิษณุโลก  เพชรบูรณ์  ตาก  เชียงราย  สู่ภาคตะวัน  ออกเฉียงเหนือมี  นครราชสีมา  ตั้งแต่ปากช่อง  จนถึงเลย  อุดรธานี  หนองคาย  จนถึงประเทศลาว
ยางถุงดำติดตา
               -  ขนาดถุง  11x35  ซม.  ดินสูง  25  ซม  ต้องสูงพอให้รากลงลึกได้  ไม่เน้นกว้างเน้นลึกหากดินถุงแตกจะทำให้รากบาดเจ็บ
               -  ความสูงของยาง  1  ฉัตร  ไม่เกิน  2  ฉัตร  ต้องแข็งแรงพอ ความสูงต้นยางไม่น้อยกว่า  20  ซม.  เพื่อไม่ให้ยางอ่อนไปจะทนแดดไม่ไหว
               -  การขนส่งยางถุงดำ  ควรใช้ตาข่ายคลุม  ป้องกันลมกระแทก ทำให้ใบยางซ้ำ หรือกิ่งถูกตีกระแทกซ้ำ  ให้ถนอมไว้
               -  ให้ตรวจหลุมก่อนปลูกด้วย  ว่ากว้างพอ  ดินข้างหลุมไม่แข็งไม่มีหินดานก้นหลุม
               -  ก่อนปลูกขนยางมาถึงพื้นที่  ให้พักยางอย่างน้อย  7  วันให้ต้นยางพักคัว  ก่อนลงหลุม (ออกศึก)
               -  แถวยางเดียวกันให้โตเท่าๆ  กัน
               -  เหลือยางไว้ไส่ถุงเก็บเอาไว้  เผื่อเอาไว้ปลูกซ่อมเวลาต้องยางที่ปลูกลงดินแล้วเกิดตาย

วิธีการปลูก
               -  ขนาดหลุมปลูก  50x50x50  ซม.
               -  ช่วงเวลาที่ปลูกมีต้นฝน  พฤษภาคม-กรกฎาคม
               -  ต้นยางที่ปลูก  1-2  ฉัตร  ลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ยอดไม่อ่อน วางไว้สู้แดดแล้ว
               -  ให้ตาที่ติดต้นหันไปทางเดียวกันแนะนำหันไปทางทิศตะวันตกให้ตาหลบแดด
               -  วิธีการปลูกเริ่มจากการใช้มีดตัดก้นถุงให้ขาด  ระวังหากรากลงก้นทะลุดินแล้วถึงต้องตัดจะทำให้ต้นยางเสียกำลัง
               -  กรีดด้านข้างถุงตามยาวแนวสูง
               -  วางลงกันหลุม
               -  กลบดินทับรอบๆ  ถุง  อย่าให้ดินหลุด
               -  ดึงถุงดำจากดิน
               -  กลบดินให้เสมอดินในถุง
               -  อย่าให้ดินกลบถึงตาต้นหรือทำให้ทรายหรือดินมากลบจะทำให้ดินทรายร้อนลวกตายางทำให้ต้นยางตายได้
               -  ปักไม้  (ไผ่)  ผูกยางกับหลักเพื่อไม่ให้ต้นยางโยกเวลาถูกลมพัดกระชาก
               -  ยางเหลือ  เก็บไว้ในร่มรอไว้ปลูกซ่อม
               -  1  เดือน  ไปดูยางที่ปลูกหากพบว่าตายให้ปลูกซ่อมทันทีเพื่อให้ยางโตไล่ได้ทัน

การใส่ปุ๋ย
               -  ใส่ปุ๋ยปีแรก  3  ครั้ง  ใช้ปุ๋ยสูตร  20-10-12
               -  ต้นละ  1  กำมือ  โรยรอบต้น  หรือขุดหลุมฝังปุ๋ย  4  จุด ในกรณีพื้นที่ราบ
               -  พื้นที่ลาดใช้ฝังปุ๋ย  2  จุด  ด้านบนความลาดเหนือต้นยางที่ปลูก
               -  ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  1  กก./ตัน

ต้นพืชแซมยาง
               ต้นพืชแซมในสวนยางมีข้าวไร่  ข้าวโพด  สัปรด  (บางแห้งนิยมเผาไร่ข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว  แบบนี้ระวังไฟไหม้ต้นยาง)  ให้ปลูกพืชแซมยาง  ห่างจากต้นยาง  1  เมตร  หรือห่างจากแถวยางข้างละ  1  เมตร  ปลูกพืชแซมยางช่วงปีที่  1-3  การปลูกพืชแซมจะช่วยกำจัดวัชพืชด้วย

พืชคลุมดิน
         พืชคลุมดินในสวนยางจะช่วยเพิ่มอินทรีย์สารรักษาความชื้นในสวนยางปัญหาในปัจจุบันก็คือ  หาเมล็ดพันธุ์พืชคลุมยากส่วนใหญ่ได้มาจากสถานีพัฒนาที่ดิน

การดูแลต้นยางปีที่  1
               -   ใช้ปุ๋ยสูตร  20-10-12  ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่  7  (จนถึงกรีดยาง)
               -  ใส่ปุ๋ย  2  ช่วง  ฝน  ต้นฝน  และปลายฝน
               -  เอาวัชพืชออกก่อนรอบโค่นต้นรัศมี  1  เมตร  ใช้ต้นละ  80  กรัม
               -  ตัดแต่งกิ่งปีที่  1  ช่วงปลายฝน  ตัดริดลำต้นเหลือยอดไว้ใช้สีน้ำมันหรือปูนขาวทาแผลที่จุดตัด  ให้ตัดกิ่งแขนงเหลือกิ่งกระโดงกิ่งเดียวยอดยางสูงไม่ยอมแตกกิ่ง  ห้ามตัดยอดเด็ดขาดเพราะต้องการเลี้ยงต้นให้สูงตรงระยะกรีดมาก

การดูแลยางในพื้นที่แห้งแล้ง
               -  หากหมดฝน  6-7  เดือน  ฝนน้อยดินขาดความชื้นหากเป็นยางต้นเล็กยังอ่อนอยู่จะชงักการเติบโตและอาจแห้งตาย
               -  หน้าแล้งให้คลุกโดนด้านยางด้วย  หญ้า  ฟางข้าว  เศษหญ้าคา  ให้พิจารณาของถูกหาง่ายในท้องถิ่นมาทดแทนโดยเฉพาะยางที่มีอายุ  0-3  ปี  เว้นห่างโดนต้น  1  คืบ  คลุมกว้างรัศ  1  เมตร  จากต้น  การคลุมฟางหญ้าจะทำให้รักษาความชื้นบริเวณต้นยางได้
               -  ให้คลุมก่อนเข้าหน้าแล้ง  1  เดือน  หรือในขณะที่ดินยังชื้นอยู่
               -  การคลุมอาจคลุมเป็นวงกลมรอบโคนต้นหรือคลุมเป็นแถวต้นยางก็ได้

การป้องกันต้นยางจากความร้อน
               -  เข้าหน้าแล้งให้ดูเปลือกยางเป็นแผลไหม้จากแสงแดดหากพบให้ใช้ปูนขาวละเลงน้ำทาต้นยางสูงจากดิน  1  เมตร
               -  รักษาแผลยางโดยใช้สีน้ำมันทาสีแผล
               -  ระวังไฟไหม้สวนยางโดยทำแนวกันไฟด้วยถนนหรือที่ว่างที่ปราศจากเชื้อไฟ  โดยรอบสวนยางหรือใช้รถไถหญ้าออกไปกว้างอย่างน้อย  3  เมตร
               -  การทำให้  Buffer  Zone  โดยการใช้ร่องเขาทำฝายชะลอน้ำใช้ป่าไผ่ชื้นกันไฟ  การใช้ต้นไม้อื่นปลูกไว้ที่แดนติดต่อกับไร่คนอื่น

การดูแลต้นยางปีที่  2
               -  หากพบยางตายให้ปลูกซ่อมต้นฝนโดยใช้ยาง  2  ฉัตร
               -  แบ่งใส่ปุ๋ย  3  ครั้ง
               -  ใช้สูตร  20-10-12  ปริมาณ  110  กรัม/ตัน  (ครึ่งกระป๋องนม)  โดยการหว่านเป็นวงกลมแล้วคราดกลบ
               -  ที่ลาดเทใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรรีย์ 2  จุด  แล้วกลบ
               -  ครั้งที่  2  และ  3  ช่วง  ต้นฝน  110  กรัม/ตัน  และปลายฝน  120  กรัม/ต้น

การดูแลต้นยางปีที่  3
               -  แบ่งปุ๋ย  2  ครั้ง  สูตร  20-10-12  ต้นฝนและปลายฝนครั้งละ  180  กรัม/ต้น
               -  ใส่โดยการขีดทางยาวขนานแถวยางห่าง  1  เมตร  ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
               -  ช่วงนี้ใบยางเริ่มคลุม
               -  ยางผลัดใบ  ผลิตใบ  ออกดอก  ให้กวาดใบยางไปไว้แถวๆ  กลางแถวยางเพื่อป้องกันไฟไหม้ใกล้ๆ  ต้นยาง

การดูแลต้นยางปีที่  4
         -  ยางเริ่มมีทรงพุ่มติดกัน
               -  ห้ามไถระหว่างแถวจะตัดรากขาด  ยางจะเสียกำลัง
               -  ใส่ปุ๋ย  2  ครั้ง  สูตร  20-10-12  ช่วงต้นฝนและปลายฝน  180  กรัม/ตัน
               -  ใส่  2  แถบ  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ต้นละ  2  กก.
               -  กวาดใบยางไปอยู่กลางระหว่างแถวยาง

การดูแลต้นยางปีที่  5-6 
               -  ใช้ปุ๋ยปีละ  2  ครั้ง   ต้นฝน-ปลายฝน
               -  ใส่ระหว่างแถว
               -  ดูโรคทางราก

วางแผนการเก็บเกี่ยวยาง
         -  เส้นรอบวงลำต้นระยะสูงจากพื้นดิน  150  ซม.  หากมากกว่า  50  ซม.  มากกว่าครึ่งสวน  ต้นยางก็พร้อมที่จะกรีดได้
               -  เตรียมอุปกรณ์มีมีดกรีดยาง จอกยาง  รางน้ำยาง ลวดรับถ้วยกับลำต้นยาง
               -  กรีดรอยแรกที่ระดับสูง  150  ซม  จากพื้นวัดมุม  30  องศา  ขีดเส้นเอียงยาว  30  ซม.  ที่กรีดครึ่งต้น
               -  ความหนาที่กรีดน้อยกว่า  2.5  ซม.
               -  ความสามารถในการกรีดยางคนละ  500  ต้น/วัน

การทำยางแผ่น
               - ทำแผ่นยางดิบ
               -  รวบรวมน้ำยางใส่ถัง  ฝาปิด  กรองน้ำยางลงในถาด # 50
               -  ใช้กรดฟอมิกเข้มข้น  902  ช้อนแกงกับน้ำ  3  กระป๋องนม
         -  เทน้ำยาลงไปกวนให้เข้ากัน
               -  ใช้พายปาดฟองออก
               -  ปิดฝาถาดทิ้งไว้  30-45  นาที
               -  ยางจะจับตัวเป็นก้อน  เอาน้ำหล่อไว้
               -  เทยางออกจากถาดลงวางบนโต๊ะ
               -  ใช้เหล็กนวดยางให้แผ่ออกให้แบนๆ
               -  เอาเข้าเครื่องรีด  3-4  ครั้ง
               -  รีดดอก  1  ครั้ง
               -  เอายางไปล้างน้ำให้สะอาด  ไล่กรดออก
               -  เอายางไปพึ่งในร่ม  6  ชั่วโมง
               -  เก็บยางในโรงเรียน  15  วัน  รอจำหน่าย

ยางแผ่นที่ดี
               -  ไม่มีฟองอากาศ
               -  ความชื้นน้อยกว่า  1.5
         -  ยืดหยุ่น
               -  ดอกคมชัด
               -  หนาน้อยกว่า  3  มม.
               -  ยางแห้งใส
               -  สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
               -  น้ำหนัก  800-1200  กรัม/แผ่น
               -  ขนาดกว้าง  38-46  ซม.  ยาว  80-90  ซม.

การขายยางแผ่น
               -  รวบรวมหลายๆ  คน  แล้วขาย
               -  แยกขายของใครก็เอาไปขายเอง